สมเด็จอรหัง เกศอุเปลงเพลิง
โดย chanchai ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 24 เม.ย. 2554.
ราคาทุนคับสวยสมบูรณ์ดุง่าย ติดต่อ0840078613 ชัยคับ
การสร้างพระเครื่อง
ในวงการพระเครื่องเชื่อกันว่า สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธารามได้สร้างพระเนื้อผงไว้ทั้งที่วัดราชสิทธาราม เรียกกันว่า "พระวัดพลับ"
(ซึ่งสร้างก่อนพ.ศ.๒๓๖๓ เพราะหลังจากนั้นทรงย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุ) เมื่อย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุจึงทรงสร้างพระสมเด็จอรหัง (บางท่านว่าสร้าง-
ตั้งแต่อยู่ที่วัดพลับแล้ว) จึงถือว่าต้นแบบพระเครื่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบ "ชิ้นฟัก" ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างในเวลาต่อมา ในหนังสือ -
"ภาพพระเครื่อง" โดย ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระสมเด็จอรหังไว้ว่า "พระสมเด็จ "อรหัง" เป็นพระเครื่องต้นสกุลพระพิมพ์
สมเด็จที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทั้งหมด ประมาณว่าได้มีการสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๖๐ (ที่วัดพลับ) แล้วนำมาบรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เมื่อ
พ.ศ.๒๓๖๓ และนอกจากจะพบพระสมเด็จอรหังที่กรุงวัดมหาธาตุแล้วที่วัดสร้อยทอง ก็ยังมีผู้พบด้วยเช่นกัน" น่าสังเกตว่า ประชุม กาญจนวัฒน์ ไม่
ยอมรับว่า "พระวัดพลับ" นั้นสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ยอมรับว่า "พระสมเด็จอรหัง"สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่เมื่อ-
พิจารณาในแง่ของเนื้อพระของทั้งสองวัดนี้แล้ว มีความคล้ายหรือมีความเหมือนกันมาก พระวัดพลับมีหลายเนื้อ ทั้งหยาบและละเอียดซึ่งพระสมเด็จ-
อรหังก็มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียดคล้ายกับพระวัดพลับ ทั้งมวลสารเช่นเม็ดทราย ผงใบลานสีดำก็มีเหมือนกัน ทางด้านพิมพ์ทรงนั้น ทั้งสองพิมพ์มี-
พระพักตร์ "กลม" คล้ายกัน การทิ้งพระพาหา (แขน) ก็เป็นรูปตัว "U" ใกล้เคียงกันอัก นักเล่นพระเนื้อผงหลายคนลงความเห็นว่าน่าจะเป็นผู้สร้าง-
คณะเดียวกันเพราะเนื้อผงกับศิลปะมีความคล้ายกันดังที่กล่าว นี่เป็นข้อคิดข้อหนึ่งอนึ่งทั้งพระสมเด็จอรหังและพระวัดพลับ ไม่ปรากฏว่ามีคราบกรุ -
(ยกเว้นวัดพลับออกที่วัดโค่ง จ.อุทัยธานี) นอกจากพระสมเด็จอรหังเนื้อผงสีขาวแล้ว ยังพบพระสมเด็จอรหังที่วัดสร้อยทองด้วย แต่เป็นพระผงสีแดง
คล้ายปูนแห้ง หลังมียันต์จมเรียกว่า "พิมพ์โต๊ะกัง"
๑. พิมพ์ทรง
พระสมเด็จอรหังอาจแบ่งเป็น ๕ พิมพ์ คือ
• พิมพ์สามชั้น "เกศอุ" หรือ "เกศเปลวเพลิง"
ด้านหน้า พระเศียรกลม เห็นพระกรรณ มีตัว "อุ" เหนือเศียร ประทับนั่งขัดสมาธิ
บนฐาน ๓ ชั้น มีซุ้มโค้งโดยรอบ
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระขอม "อะ ระ หัง"
เนื้อ ผงขาว มีทั้งหยาบและละเอียด
๒. พิมพ์ฐานคู่
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธ เศียรกลม มีเกศและพระกรรณประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานคู่ ๓ คู่ มีซุ้มโค้งโดยรอบเศียร
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระขอม "อะ ระ หัง"
เนื้อ ผงขาว มีทั้งหยาบและละเอียด
๓. พิมพ์สังฆาฏิ (สามชั้น)
ด้านหน้า พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิบนบานสามชั้น พระพักตร์กลม เห็นเกศ และพระกรรณกับเส้นผ้าสังฆาฏิค่อนข้างชัด
ด้านหลัง เรียบ และมีรอยจารอักขระขอมด้วยมือ "อะ ระ หัง"
เนื้อ ผงขาว มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด
๔.พิมพ์เล็ก มี ๒ แบบ คือ มีประภามณฑล กับไม่มีประภามณฑล มีขนาดเล็กกว่าทุกพิมพ์
ด้านหน้า พระประทับนั่งขัดสมาธิบนฐาน ๓ ชั้น มีประภามณฑลและไม่มีประภามณฑลมีซุ้มโค้งโดยรอบ
ด้านหลัง เรียบ และมีอักขระขอมเขียนด้วยมือ "อะ ระ หัง"
๕.พิมพ์โต๊ะกัง
ด้านหน้า พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐาน ๓ ชั้น และฐาน ๒ ชั้น มีซุ้มโดยรอบ
ด้านหลัง มียันต์ชั้นจมลงไปในเนื้อพระเป็นอักขระขอม "อะ ระ หัง"
เนื้อ เนื้อผงสีแดงสีปูนแห้ง
เนื้อพระ
เนื้อพระของสมเด็จอรหังมี ๓ ประเภท คือ
• เนื้อละเอียดและแกร่ง เนื้อประเภทนี้กล่าวกันว่าท่านสร้างที่วัดมหาธาตุ
• เนื้อหยาบ มีกรวดทรายและผงเกสรดอกไม้มาก
• เนื้อผงสีแดงหรือสีปูนแห้ง พบที่วัดสร้อยทอง
สรุป
พระสมเด็จอรหังเชื่อกันว่าสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สังฆราชไก่เถื่อน ถือว่าเป็นต้นตระกูลพระสมเด็จ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)-
พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม ได้สร้างตามแบบในเวลาต่อมา ค่านิยมยังเป็นรองพระสมเด็จฯ วัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯบางขุนพรหมเพราะ
ประวัติการสร้างมีความชัดเจนน้อยกว่า อย่างไรก็ดีถือว่าเป็นพระเนื้อผงรุ่นโบราณ ซึ่งมีพระพุทธคุณสูงโดยเฉพาะทางด้านเมตตามหานิยม เช่นเดียว
กับองค์ที่ผู้สร้างสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ผู้ทรงมีเมตตาสูงจนไก่ป่ายังเชื่องได้ จนทรงได้รับสมญานามว่า "สังฆราชไก่เถื่อน"
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 5723 ประกาศ
|
|
|
1500 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
65,000 บาท |
|
|
|
4,500 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
14,900 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
5x,xxx |
|
|
|
พิเศษโทรสอบถาม |
|
|
|
50,000 บาท |
|
|
|
15,000,000 |
|
|
|
17,000 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
111,111 |
|
|
|
โทรสอบถาม |
|
|
|
โทรถาม |
|
|
|
1,000 บาท |
|
|
|
15,900 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |